วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561

โมเดลแม่แรงยกรถแบบกรรไกร

ส่วนประกอบของแม่แรงยกรถแบบกรรไกร มีดังนี้


ส่วนที่ 1 คาน หรือ แขนรับแรง (4 แขน)
     มีหน้าที่รับน้ำหนักของรถ คานชิ้นนี้ต้องทำจากเหล็กที่มีความแข็งแรงสูง เพื่อจะได้รับน้ำหนักของรถได้มาก

ส่วนที่ 2 ฐานด้านบน
     ต่อจากแขนด้านบนสองแขน เพื่อยกตัวรถขึ้น หน้าตัดของตัวนี้จะสัมผัสกับวัตถุที่จะยกโดยตรงทำจากเหล็ก

ส่วนที่ 3 สกรู
     มีหน้าที่ขับเคลื่อนแขนทั้ง4แขนให้ยกตัวขึ้นหรือลงได้ 

ส่วนที่ 4 ฐานด้านล่าง
     ต่อจากแขนด้านล่างสองแขน เพื่อยึดโครงสร้างของแม่แรงกับพื้นไม่ให้ล้ม

ส่วนที่ 5 ตัวหมุนสกรู
     มีหน้าที่เพื่อหมุนสกรูให้ทำหน้าที่ขับเคลื่อน

ส่วนที่ 6 ตัวยึดแขน
     มีหน้าที่ยึดแขนให้โครงสร้างไม่หลุดออกจากกัน

ส่วนที่ 7 ตัวล็อคสกรู
     มีหน้าที่เพื่อไม่ให้การยกขึ้นหรือลง ไม่ให้ย้อนกลับ

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การเขียนแบบโดยโปรแกรม Solid Work เพื่อนำมาสร้างเป็นโมเดลของแม่แรงยกรถแบบกรรไกร




คลิปนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา MECHANICS OF MACHINERY รหัส ME 332 
จัดทำโดย
 1. นายธนกร ผลาหาญ รหัสนิสิต 58109010185
 2. นาย วิริยะ  สีดาน้อย รหัสนิสิต 58109010233
 3. นาย อภิชาติ สิงห์วี   รหัสนิสิต 58109010251
คณะวิศวกรรมศาสต์ สาขา วิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องค์รักษ์

วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิธีการใช้งานของแม่แรงยกรถแบบกรรไกร

ตำแหน่งที่ใช้แม่แรงยกรถ
ในกรณียกทีละ 1 ล้อ
-ยกล้อหน้า จุดยกจะอยู่ตรงรอยเบ้า  หลังล้อหน้าเล็กน้อย
-ยกล้อหลัง จุดยกจะอยู่ตรงรอยเบ้า  หน้าของล้อหลังเล็กน้อย (หรือเบ้าโช๊ค)
ในกรณียกทีละ 2 ล้อ
-ด้านหน้า จุดยกคือกึ่งกลางเพลาหน้า
-ด้านหลัง จุดยกคือกึ่งกลางเพลาหลัง


ขั้นตอนการใช้แม่แรงยกรถแบบกรรไกร
1. นำแม่แรงไปไว้จุดที่เราจะต้องการยกรถขึ้นใน2กรณัข้างต้น
2. ทำการหมุนให้แม่แรงยกรถขึ้น (แนะนำให้ใช้เศษผ้าวางทับเบ้ายกแม่แรงหรือใช้ยางอ่อน)
3. เมื่อยกรถลอยขึ้นเหนือพื้นแล้ว ก็ทำการซ่อมแซมรถได้เลย
4. เมื่อจะเอาแม่แรงออก ค่อยๆ หมุนแม่แรงยกรถแบบกรรไกรอย่างช้าๆ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ข้อควรระวัง  
1.ให้นำก้อนอิฐท่อนไม้ หนุนล้อกันรถไหล 

2. กรณียกค้างหรือทำงานใต้ท้องรถต้องเอาขาตั้งค้ำช่วยรับน้ำหนักเพื่อป้องกันอีกครั้ง

วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ส่วนประกอบของแม่แรงยกรถแบบกรรไกร



ส่วนประกอบของแม่แรงยกรถแบบกรรไกร มีดังนี้

ส่วนที่ 1 คาน หรือ แขนรับแรง (4 แขน)
     มีหน้าที่รับน้ำหนักของรถ คานชิ้นนี้ต้องทำจากเหล็กที่มีความแข็งแรงสูง เพื่อจะได้รับน้ำหนักของรถได้มาก

ส่วนที่ 2 ฐานด้านบน
     ต่อจากแขนด้านบนสองแขน เพื่อยกตัวรถขึ้น หน้าตัดของตัวนี้จะสัมผัสกับวัตถุที่จะยกโดยตรงทำจากเหล็ก

ส่วนที่ 3 สกรู
     มีหน้าที่ขับเคลื่อนแขนทั้ง4แขนให้ยกตัวขึ้นหรือลงได้ 

ส่วนที่ 4 ฐานด้านล่าง
     ต่อจากแขนด้านล่างสองแขน เพื่อยึดโครงสร้างของแม่แรงกับพื้นไม่ให้ล้ม

ส่วนที่ 5 ตัวหมุนสกรู
     มีหน้าที่เพื่อหมุนสกรูให้ทำหน้าที่ขับเคลื่อน

ส่วนที่ 6 ตัวยึดแขน
     มีหน้าที่ยึดแขนให้โครงสร้างไม่หลุดออกจากกัน

ส่วนที่ 7 ตัวล็อคสกรู
     มีหน้าที่เพื่อไม่ให้การยกขึ้นหรือลง ไม่ให้ย้อนกลับ


วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แม่แรงยกรถมีหน้าที่อะไร ?


     แม่แรง คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ในการเพิ่มเเรงในการยกรถยนต์ เพื่อทำการซ่อมบำรุงส่วนต่างๆของรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นล้อรถยนต์ ช่วงล่างของรถยนต์ หรือใช้ในการตรวจสอบตัวถังของรถยนต์ มันเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทุ่นแรงในการทำงานเกี่ยวกับช่วงล่างของรถยนต์ต่างๆเพื่อให้การทำงานรวดเร็วขึ้นและสะดวกกับตัวผู้ใช้งานให้ง่ายขึ้นมากกว่าเดิม
     
แม่แรงยกรถแบบกรรไกร ( Scissor Jack )

     อุปกรณ์ชนิดนี้ มันก็มีแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานได้ง่ายขึ้น มากกว่าเดิม อุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมานี้เป็นแม่แรงไฟฟ้าที่ใช้หลักการทำงานเพื่อทำการยกรถยนต์ถอดล้อรถยนต์ เช็คช่วงล่าง ตรวจสอบสถานะรถยนต์ ซึ่งทั้งหมดนี้คงใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที เพราะว่าอุปกรณ์ที่เรานำมาใช้งานนั้นมันช่วยประหยัดแรงในการทำงานไปได้มาก 
     แต่ในบทความนี้เราสนใจแม่เเรงยกรถแบบกรรไกร เพื่อจะมานำเสนอกลไกลการทำงานของ แม่แรงยกรถแบบกรรไกร


วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความเป็นมาของ แม่แรงยกรถ

     เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ยกรถต่างๆ มีการพัฒนาเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานและให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่รวดเร็วขึ้น แม่แรงยกรถก็มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆเพื่อให้ผู้ทำงานปฎิบัติงานได้ง่ายขึ้นและไม่เกิดอันตราย แม่แรงยกรถจึงได้มีการพัฒนาขึ้นมาตลอด

     เริ่มแรก จะเอาไม้มาขัดตัดตกแต่งเป็นเกลียวท่อจากนั้นจึงมาประกอบกันเป็นเฟืองหมุนยกให้สูงขึ้น ช่วยผ่อนแรง ลดระยะเวลาการทำงาน เพื่อให้เหมาะสมกับงานประเภทนั้นๆ


แม่แรงยกรถในอดีต

     ปัจจุบัน แม่แรงจะแตกต่างจากอดีตอย่างมาก แบ่งเป็น2ประเภทใหญ่ๆ คือ 
1. แม่แรงระบบกลไก เป็นระบบเฟือง หมุนเพื่อยกน้ำหนัก 
ข้อดี คือ ไม่ต้องดูแลมาก พกพาสะดวก
ข้อเสีย คือ รับน้ำหนักได้น้อย เกิดอันตรายง่าย ต้องใช้แรงมากในการยกน้ำหนัก  
ณ ตอนนี้มีระบบไฟฟ้ามาช่วยขับเฟืองให้เร็วขึ้น แต่ความทนทานหรืออายุการใช้งานไม่มาก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แม่แรงระบบกลไก
แม่แรงระบบกลไก

2. แม่แรงระบบไฮดรอลิค ใช้น้ำมันไฮดรอลิคช่วยขับแรงดันลูกสูบ
ข้อดี คือ สามารถยกรองรับน้ำหนักได้เยอะ ใช้งานง่าย ทำงานได้รวดเร็ว มีหลายชนิดหลายรูปแบบ ปัจจุบันจำนวนลูกสูบมากขึ้น
ข้อเสีย คือ มีข้อบกพร่องของยางโอริงภายในที่อาจจะทนแรงเสียดสีไม่ไหวทำให้ชำรุดเร็วกว่ากำหนดทำให้น้ำมันรั่วซึม ยกไม่เสถียร
สาเหตุส่วนมากเกิดจากการใช้งานแม่แรงใกล้เคียงหรือเกินข้อจำกัดการรับน้ำหนัก หรือโยกด้ามแม่แรงเร็วเกินไปจนน้ำมันไฮดรอลิคไหลไปหล่อเลี้ยงระบบภายในไม่ทัน พื้นที่ยกแม่แรงไม่สม่ำเสมอขรุขระไม่สะอาดเศษหินดินทรายไปเกาะที่บริเวณปากกระบอกลูกสูบจนทำให้แกนกระบอกสูบเป็นรอยขีดข่วนชำรุด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แม่แรงไฮโดรลิค
แม่แรงระบบไฮดรอลิค

โมเดลแม่แรงยกรถแบบกรรไกร

ส่วนประกอบของแม่แรงยกรถแบบกรรไกร มีดังนี้ ส่วนที่ 1 คาน หรือ แขนรับแรง (4 แขน)      มีหน้าที่รับน้ำหนักของรถ คานชิ้นนี้ต้องทำจาก...