เริ่มแรก จะเอาไม้มาขัดตัดตกแต่งเป็นเกลียวท่อจากนั้นจึงมาประกอบกันเป็นเฟืองหมุนยกให้สูงขึ้น ช่วยผ่อนแรง ลดระยะเวลาการทำงาน เพื่อให้เหมาะสมกับงานประเภทนั้นๆ
แม่แรงยกรถในอดีต
ปัจจุบัน แม่แรงจะแตกต่างจากอดีตอย่างมาก แบ่งเป็น2ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แม่แรงระบบกลไก เป็นระบบเฟือง หมุนเพื่อยกน้ำหนัก
ข้อดี คือ ไม่ต้องดูแลมาก พกพาสะดวก
ข้อเสีย คือ รับน้ำหนักได้น้อย เกิดอันตรายง่าย ต้องใช้แรงมากในการยกน้ำหนัก
ณ ตอนนี้มีระบบไฟฟ้ามาช่วยขับเฟืองให้เร็วขึ้น แต่ความทนทานหรืออายุการใช้งานไม่มาก
แม่แรงระบบกลไก
2. แม่แรงระบบไฮดรอลิค ใช้น้ำมันไฮดรอลิคช่วยขับแรงดันลูกสูบ
ข้อดี คือ สามารถยกรองรับน้ำหนักได้เยอะ ใช้งานง่าย ทำงานได้รวดเร็ว มีหลายชนิดหลายรูปแบบ ปัจจุบันจำนวนลูกสูบมากขึ้น
ข้อเสีย คือ มีข้อบกพร่องของยางโอริงภายในที่อาจจะทนแรงเสียดสีไม่ไหวทำให้ชำรุดเร็วกว่ากำหนดทำให้น้ำมันรั่วซึม ยกไม่เสถียร
สาเหตุส่วนมากเกิดจากการใช้งานแม่แรงใกล้เคียงหรือเกินข้อจำกัดการรับน้ำหนัก หรือโยกด้ามแม่แรงเร็วเกินไปจนน้ำมันไฮดรอลิคไหลไปหล่อเลี้ยงระบบภายในไม่ทัน พื้นที่ยกแม่แรงไม่สม่ำเสมอขรุขระไม่สะอาดเศษหินดินทรายไปเกาะที่บริเวณปากกระบอกลูกสูบจนทำให้แกนกระบอกสูบเป็นรอยขีดข่วนชำรุด
ข้อดี คือ สามารถยกรองรับน้ำหนักได้เยอะ ใช้งานง่าย ทำงานได้รวดเร็ว มีหลายชนิดหลายรูปแบบ ปัจจุบันจำนวนลูกสูบมากขึ้น
ข้อเสีย คือ มีข้อบกพร่องของยางโอริงภายในที่อาจจะทนแรงเสียดสีไม่ไหวทำให้ชำรุดเร็วกว่ากำหนดทำให้น้ำมันรั่วซึม ยกไม่เสถียร
สาเหตุส่วนมากเกิดจากการใช้งานแม่แรงใกล้เคียงหรือเกินข้อจำกัดการรับน้ำหนัก หรือโยกด้ามแม่แรงเร็วเกินไปจนน้ำมันไฮดรอลิคไหลไปหล่อเลี้ยงระบบภายในไม่ทัน พื้นที่ยกแม่แรงไม่สม่ำเสมอขรุขระไม่สะอาดเศษหินดินทรายไปเกาะที่บริเวณปากกระบอกลูกสูบจนทำให้แกนกระบอกสูบเป็นรอยขีดข่วนชำรุด
แม่แรงระบบไฮดรอลิค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น